Lacticaseibacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) ของ Lacticaseibacillus rhamnosus

Lacticaseibacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) เป็นสายพันธุ์ย่อยของ L. rhamnosus ที่แยกได้จากลำไส้ของมนุษย์ที่มีสุขภาพดีใน ค.ศ. 1983 และได้ยื่นขอสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1985 โดยเชอร์วูด กอร์บาค (Sherwood Gorbach) และแบร์รี โกลดิน (Barry Goldin)[11] ซึ่ง 'GG' มาจากอักษรตัวแรกของนามสกุลของพวกเขา[12] สิทธิบัตรอ้างถึงสายพันธุ์ของ L. acidophilus GG ที่มีหมายเลขทะเบียน American Type Culture Collection (ATCC) 53103 ภายหลังถูกจัดประเภทใหม่เป็นสายพันธุ์ L. rhamnosus สิทธิบัตรอ้างว่าสายพันธุ์ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) มีความคงตัวในกรดและน้ำดี มีความเร็วในการเกิดปฏิกิริยา (avidity) อย่างมากในเซลล์เยื่อบุลำไส้ของมนุษย์ และผลิตกรดแล็กติก นับตั้งแต่มีการค้นพบสายพันธุ์นี้ ก็ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่หลากหลาย และปัจจุบันสายพันธุ์ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) เป็นแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ที่มีการศึกษามากที่สุดในโลก โดยมีงานวิจัยมากกว่า 800 รายการ[9]

ลำดับจีโนมของ Lactobacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) ได้รับการถอดรหัสใน ค.ศ. 2009[13][14]

ประวัติ

ใน ค.ศ. 1983 L. rhamnosus GG ถูกแยกได้จากลำไส้ของมนุษย์ที่มีสุขภาพดีโดยเชอร์วูด กอร์บาค และแบร์รี โกลดิน

การวิจัยทางการแพทย์และการใช้งาน

จากที่ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) สามารถอยู่รอดได้ในกรดของกระเพาะอาหารและน้ำดีในลำไส้[15] จึงถูกระบุว่ามีแหล่งอาศัยในระบบทางเดินอาหาร และสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หลักฐานบ่งชี้ว่า L. rhamnosus เปรียบได้กับจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ในสกุลแลคโตบาซิลลัสเกือบทั้งหมดที่เป็นเพียงผู้อาศัยชั่วคราวและไม่ใช่จุลินทรีย์ท้องถิ่น (autochthonous)[16] Lactobacillus rhamnosus GG จะจับกับเยื่อบุลำไส้[17] ซึ่งคุณลักษณะนี้ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการตรวจสอบการเสริมโปรไบโอติกส์เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ระบุถึงอาการป่วยที่ใช้สิ่งมีชีวิตโปรไบโอติกส์เป็นการรักษาทางเลือกแรกหรือทางเลือกที่สองที่เหมาะสม

Lactobacillus rhamnosus GG สามารถกระตุ้นการผลิตไซโตไคน์บางชนิด เช่น:[18]

อาการท้องร่วง

Lacticaseibacillus rhamnosus GG มีประโยชน์ในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรตาในเด็ก มีการแสดงให้เห็นถึงการป้องกันและรักษาโรคท้องร่วงประเภทต่าง ๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่[19][20] L. rhamnosus GG สามารถเป็นประโยชน์ในการป้องกันอาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะและโรคท้องร่วงจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล และสิ่งนี้ได้รับการสนับสนุนในข้อแนะนำของยุโรป[21][22][23] Lactobacillus rhamnosus GG อาจลดความเสี่ยงของอาการท้องร่วงของนักเดินทาง[24]

กระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน

เอกสารวิชาการหลักที่เผยแพร่โดยคณะทำงานด้านโปรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ของ European Society for Paediatric Gastroenterology Hepatology and Nutrition (ESPGHAN) ซึ่งมีการทบทวนอย่างเป็นระบบและทำการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCTs) (หลักฐานคุณภาพต่ำ, ต้องการคำแนะนำที่ชัดเจน) ระบุว่า L. rhamnosus GG อาจได้รับการพิจารณาใช้ในการรักษาเด็กที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน นอกเหนือจากการบำบัดด้วยการให้สารน้ำ[25]

ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้

Lacticaseibacillus rhamnosus GG พบว่าไม่ได้ผลในการรักษาอาการผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้[26] อย่างไรก็ตาม ในการสังเกตทางคลินิกแบบไม่สุ่มหนึ่งครั้ง[27] เกี่ยวกับผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กที่ดื้อยา มีรายงานถึงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตอย่างมากในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับ L. rhamnosus เสริม

ความเสี่ยง

การใช้ L. rhamnosus GG สำหรับการบำบัดด้วยโปรไบโอติกนั้นเชื่อมโยงกับกรณีของภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่หายากในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและทารก[28] การรับประทาน L. rhamnosus GG ถือว่ามีความปลอดภัย และข้อมูลแสดงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการบริโภคในระดับประชากร ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกรณีผู้ป่วยภาวะเลือดมีแบคทีเรียจากเชื้อแลคโตบาซิลลัส[29]